- มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางนโยบายของกรุงเทพฯ
- ได้นโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการออกแบบแนวทางการแก้ไขปัญหาและนโยบายที่ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในนโยบายที่มีการแบ่งขั้วทางความคิดอย่างชัดเจน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับ Uber ในไต้หวัน [1] ปัญหาหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพฯ เนื่องจากหากคิดอย่างไม่รอบคอบหรือพัฒนานโยบายโดยไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างได้
ดังนั้น เพื่อทดลองกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนสำหรับการนำมาออกแบบนโยบาย ทีมเพื่อนชัชชาติได้พัฒนาโครงการ ‘ชัชชาติชวนคิด’ ขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนานโยบายที่มีกระบวนการหลัก ๆ ดังนี้
1) Preparation (เตรียมการ ศึกษา ทำความเข้าใจ) 2) Seeding (พัฒนาและออกแบบแนวความคิด) 3) Public Hearing (รวบรวมความคิดเห็นจากประชาชน) 4) Policy Making (พัฒนานโยบาย)
ยกตัวอย่างนโยบายเกี่ยวกับหาบเร่แผงลอย หนึ่งในนโยบายที่ถูกพัฒนาผ่าน ‘ชัชชาติชวนคิด’ ดังนี้
1. การเตรียมการ (preparation) - ศึกษาหลักเกณฑ์ในการอนุญาตหาบเร่ตั้งแต่ในยุคพื้นที่ผ่อนผันจนถึงยุคพื้นที่การค้า ศึกษารายงานการพิจารณา ศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร สอบถามแม่ค้าหาบเร่แผงลอยและผู้ค้า ฯลฯ
2. หาแนวคิด (seeding) - พัฒนาและสรุปประเด็นที่ส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ค้าหาบเร่ ผู้ใช้ทางสัญจร เอกชนเจ้าของพื้นที่ เทศกิจ ตำรวจ (จราจร) กทม. พร้อมกับนำแนวคิดมิติต่าง ๆ หารือกับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนต่าง ๆ จนได้แนวคิดออกมาทั้งหมด 12 แนวคิด แบ่งเป็น 3 มิติได้แก่ 1) มิติด้านเศรษฐกิจ 5 ข้อ 2) มิติด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย 5 ข้อ 3) มิติด้านปัญหา 2 ข้อ
3. การทำประชาพิจารณ์ (public hearing) - นำแนวคิดทั้ง 12 ข้อข้างต้นไปพัฒนาเป็นแบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็น (เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย) ใน Line Official Account ‘เพื่อนชัชชาติ’ ระยะเวลา 3 วัน ได้รับความคิดเห็นมากกว่า 250 ความคิดเห็น
4. การทำนโยบาย (policy making) - จากการสรุปความคิดเห็นทำให้พบว่า แม้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหาบเร่แผงลอยส่งผลกระทบทั้งด้านความสะอาดและการสัญจรบนทางเท้า แต่ก็ยังเห็นว่าหาบเร่แผงลอยเป็นกลไกสำคัญในเชิงเศรษฐกิจทั้งในแง่การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานรากและการเป็นแหล่งอาหารราคาประหยัดเพื่อลดค่าครองชีพให้กับคนเมือง สำหรับปัญหาผลกระทบทั้งด้านความสะอาดและการสัญจรคนส่วนใหญ่คิดว่าควรจะมีการดูแลเพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกันระหว่างหาบเร่และผู้สัญจรขึ้น
จากแนวคิดที่สรุปมาข้างต้นจึงได้ออกมาเป็นนโยบายหาบเร่แผงลอย เช่น การช่วยเหลือผู้ค้าสร้างความมั่นคง (ตั้งแต่การสนับสนุนแหล่งเงินทุน การบริหารจัดการร้านค้า และการจัดหาพื้นที่) และการรักษาสิทธิของคนในพื้นที่ (การพัฒนาหลักเกณฑ์การค้าร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่ การขึ้นทะเบียนผู้ค้าและเก็บประวัติการขายเพื่อการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการค้า จุดทิ้งขยะ บ่อดันไขมัน)
โดยนโยบายทั้งหมดที่พัฒนาจะนำเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อให้ได้นโยบายกรุงเทพฯ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด อย่างเช่น เว็บไซต์นโยบายที่ทุกท่านได้อ่านอยู่ ณ ตอนนี้ที่เปิดโอกาสให้ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทุกนโยบายเพิ่มเติมได้
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชัชชาติชวนคิด หาทางออกหาบเร่แผงลอย
ได้ข้อสรุปว่าประชาชนเห็นด้วยว่าหาบเร่ยังคงเป็นกลไกที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากทั้งกับผู้ค้าและกับผู้บริโภค อย่างไรก็ดีการบริการจัดการหาบเร่แผงลอยในมิติต่าง ๆ เช่น ความสะอาด การตั้งอยู่ร่วมกันบนทางสัญจร ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ กทม. ต้องเข้าไปดูแล ดังนั้น กทม. จะต้องเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการทั้งสองส่วนได้แก่ การช่วยเหลือผู้ค้า และ การบริหารจัดการพื้นที่การค้าและหาบเร่แผงลอยต่าง ๆ
ข้อสังเกตเพิ่มเติม: 2 หัวข้อที่ประชาชนให้ความสำคัญน้อยที่สุดได้แก่ การส่งเสริมให้หาบเร่แผงลอยเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว และ แนวความคิดที่ว่าหาบเร่แผงลอยกีดขวางทางสัญจรของประชาชน
คำถาม | ควรเป็นอาชีพที่ช่วยรองรับการว่างงาน เปิดโอกาสให้มีงาน มีรายได้ | ควรเป็นอาชีพที่ช่วยเหลือผู้มีต้นทุนต่ำให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ | ควรเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานราก เช่น การเกษตร การผลิต การขนส่ง | ควรเป็นจุดเด่นของกรุงเทพฯ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว | ควรเป็นทางเลือกในการซื้อสินค้าและอาหารที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ | ควรมีการขายอาหารหรือเครื่องดื่มที่สะอาดถูกสุขอนามัย | ควรอยู่ร่วมกันได้กับชุมชนและไม่กีดขวางการจราจร | หาบเร่แผงลอยสามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในเรื่องความปลอดภัยของการสัญจรบนทางเท้าและพื้นที่สาธารณะในเมือง | หาบเร่แผงลอยควรช่วยดูแลรักษาความสะอาดของทางเท้าและพื้นที่สาธารณะ | ในด้านความมีระเบียบและความสะอาด ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ กลุ่มผู้ค้า เจ้าของอาคาร และประชาชนในพื้นที่ | หาบเร่แผงลอยกีดขวางทางสัญจรของประชาชน | หาบเร่แผงลอยทำให้พื้นที่สาธารณะสกปรก ส่งกลิ่นรบกวน |
เห็นด้วย | 250 | 254 | 265 | 223 | 266 | 272 | 265 | 228 | 271 | 275 | 222 | 234 |
ผู้ตอบทั้งหมด | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 | 281 |
สัดส่วนคนเห็นด้วย | 88.97% | 90.39% | 94.31% | 79.36% | 94.66% | 96.80% | 94.31% | 81.14% | 96.44% | 97.86% | 79.00% | 83.27% |
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 10 มีนาคม 2565
- Participation in determining the directions of BMA policies
- Policies that address the needs of Bangkok residents
Taking public opinions into consideration is one of the important factors in designing solutions and policies to accurately address the actual needs of the population, especially in controversial issues like Uber problems in Taiwan [1] or street vendors in Bangkok. If the solutions are not well-rounded or the process policymaking does not take public opinions into account, there might be impacts to the society as a whole.
Therefore, in order to be as inclusive of a wide range of views as possible to be taken into account in policy making, the Friends of Chadchart Team has developed the ‘Chadchart Chuan Kid’ project, an attempt to gather people’s thoughts to develop effective public policies, carried out in four phases, which are 1) preparation (prepare, research, and form understandings); 2) seeding (develop and design); 3) public hearing (gather public opinions) 4) policy making (develop policies)
To illustrate how this actually works, the case of street vendors can be taken as an example of one of the issues with policies developed through this project. The process can be broken down into:
1) Preparation – research was conducted on past regulations regarding street vending, from the period in which it was allowed with relaxation of rules to the designation of commercial zones; as well as on conference reports on the issues. Recommendations on the policy making relating to the issues and accounts of street vendors were also taken into consideration.
2) Seeding – the research findings were summarized, specifying impacts on stakeholders including vendors, pedestrians, private sectors to which the vending space belongs, city law enforcement authority, and traffic police. Then various notions and frameworks were discussed with academics, experts, and representatives of involved parties, resulting in 12 solutions which can be divided into 3 aspects, namely 1) economy; 2) order and cleanliness; and 3) possible issues.
3) Public hearing – the 12 solutions were developed into an online questionnaire on Line account ‘Friends of Chadchart’. Within a period of 3 days, over 250 responses were submitted.
4) Policy making – it is reflected from public opinions that even though majority of respondents feel that street vending makes pavements dirty and obstructs pedestrians, they still see it as an important economic factor in local economy, providing inexpensive food which helps cut costs for the city’s residents. For the issues of cleanliness and sidewalk obstruction, most respondents figure that there should be adequate management to prevent conflicts between vendors and pedestrians.
Through this process, policies regarding street vendors have been generated, including measures of enhancing vendors’ stability (by providing sources of funding, knowledge on business management, and vending locations), protection of the rights of local residents (by developing set of rules between vendors and locals, registering street vendors to keep track of vending history for the purpose of quality monitoring and control, and improving such infrastructures as trash dumping spots and septic tanks to facilitate street vending)
These policy suggestions will be uploaded onto online platforms for further feedbacks, in order to generate public policies that best address the needs of Bangkok people. The website you are now on is one of such attempts. You can give us your feedbacks on any policy through this platform.
Additional information on Chadchart Chuan Kid campaign on street vending
It can be concluded that people in Bangkok agree that street vending is a significant driving force in local economy for both the vendors and the consumers. However, effective management is needed on every aspect from cleanliness to coexistence of vendors and pedestrians. The BMA will need to take charge in supporting vendors as well as in managing vending places.
Additional observations: two topics that the respondents are least concerned with are promoting street vending as tourist attractions, and the suggestion that street vending is obstructing the sidewalk.
Questions
Street vending:
Should be an occupation that helps lower unemployment rate by generating work and income
Should be an occupation that helps those with low resources
Should be connected with local economy, such as agriculture, production, transportation
Should be one of Bangkok’s tourist attractions
Should provide choices of affordable food appropriate for the cost of living
Should sell hygienic food and drinks
Should be able to coexist with local community without obstructing the traffic
Should be able to contribute to safety on the street by encouraging vendors to help monitor sidewalks and public spaces in the city
Should be able to help keep the pavement and public spaces clean
Should play a part, together with government agencies, space owners, and local residents in the areas, in maintaining order and cleanliness
Obstruct carriageways for pedestrians
Contaminate public spaces, creating unpleasant odor
* Last updated on March 10, 2022