- ได้พื้นที่ที่มีอากาศสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ต้นตอมีทั้งกระบวนการระยะสั้นและระยะยาว และต้องใช้เวลากว่าที่สถานการณ์ทั้งหมดจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติที่ปลอดภัยกับประชาชน
ดังนั้น กทม.จึงต้องป้องกันประชาชนจากฝุ่นพิษให้ได้เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพให้ได้มากที่สุด ผ่านการพัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ซึ่งจะต้องดำเนินการสำหรับทั้ง
1. พื้นที่เปิดโดย กทม.จะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไปปลูก) และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่ เช่น ต้นไม้ที่ลักษณะใบมีขนหรือขรุขระ
2. พื้นที่ปิดผ่านการสนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น เช่น ห้องเรียน โรงพยาบาล รถสาธารณะ
- Clean-air space that is safe for health
Solving the problem of PM2.5 dust at the source is both short-term and long-term processes. It will take some time for the whole situation to return to normal and safe condition for the public.
BMA needs to protect the public from toxic dust in order to reduce the impact on their health as much as possible by developing dust-free areas (BKK Clean Air Areas) for both following kinds of space:
1. For open spaces, BMA plans to plant (both by BMA itself and encouraging the private sector to bring in seedlings) and maintain trees that can collect and filter dust such as those with hairy or rough leaves;
2. For enclosed spaces, BMA plans to support the installation of air purifiers, especially in the places with vulnerable people and densely populated ones, such as classrooms, hospitals and public transports.