- นโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน
นอกจากมิติการเปิดเผยข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นปัจจุบันแล้ว การนำข้อมูลมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทม.ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้นเพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแบบจำลองกรุงเทพฯ ทั้งมิติโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลประชากร (Digital Twin) กทม.จะนำข้อมูลมาพัฒนาอย่างน้อยตามประเด็นดังนี้
1. พัฒนา BKK Risk Map แผนที่จุดความเสี่ยงประเภทต่างๆ ของเมือง เช่น บริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วม บริเวณที่เกิดอาชญากรรม บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ
2. วิเคราะห์การกักตัวหรือจุดอันตรายฝุ่น PM2.5 หนาแน่น
3. วิเคราะห์การเข้าถึงบริการของภาครัฐ (เช่น สาธารณสุข)
4. ขึ้นทะเบียนต้นไม้บันทึกสินทรัพย์ของ กทม. โดยใช้แอพพลิเคชั่นที่สามารถบันทึกต้นไม้ หรือ green spot ใน กทม.ได้
- Urban policies and solutions that are based on comprehensive data.
In addition to the disclosure of comprehensive and up-to-date data, the use of information to increase the efficiency of BMA's operations is also important. Therefore, to increase the utilization of the Bangkok model in both the infrastructure and the digital twin, BMA will apply the data in the development of the following issues at a minimum:
1. Develop a BKK Risk Map that maps out different types of city risk points, such as flood, crime, and accident.
2. Analyze the quarantine or danger of high PM2.5 dust particles.
3. Analyze access to government services (e.g. public health)
4. Register trees and log assets of BMA using an application that can save information about trees or green spots in Bangkok.