- ลดขั้นตอนในการทำงานเฉพาะหน้า เพิ่มความคล่องตัวในการระงับเหตุ ลดความสูญเสีย
ในการเผชิญเหตุอัคคีภัย สาธารณภัยในแต่ละที่บริบทของโครงสร้างและสถาปัตยกรรมแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันข้อมูลต่างๆ ของแบบอาคารที่ได้มีการขออนุญาตก่อสร้างเหล่านี้ถูกแยกจัดเก็บในรูปแบบเอกสารสำเนาหรือซีดีกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กองปฏิบัติการดับเพลิงพื้นที่ต่างๆ สำนักงานเขตของอาคารนั้นๆ เมื่อถึงสถานการณ์คับขันจำเป็นต้องใช้จริงจึงหาข้อมูลยาก
ดังนั้น กทม.จะยกระดับฐานข้อมูลอาคารสู่ระบบดิจิทัลเพื่อลดขั้นตอนในการทำสำเนา เพิ่มความคล่องตัวในการเรียกดูข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในยามคับขัน โดย
1. นำข้อมูลแบบอาคารเข้าสู่ระบบออนไลน์
2. ผลักดันให้อาคารใหม่ ๆ ส่งข้อมูลแบบอาคารในรูปแบบออนไลน์
2. เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเผชิญสาธารณภัยสามารถเรียกดูข้อมูลออนไลน์ เพื่อวางแผนการกู้ภัยได้
4. เชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบอาคารออนไลน์กับฐานข้อมูลของหน่วยงานเผชิญสาธารณภัยต่าง ๆ
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 24 พฤษภาคม 2565
- Decrease of on-site work process, increase of agility in incident suppression and loss reduction
In each fire and disaster response, structural and architectural contexts of each area vary. At present, various building drawings with construction permits are stored separately in hardcopies or CDs by various agencies such as the fire department in each area and the district office of that building’s jurisdiction. In time of critical situations when the information is needed, it's thus difficult to locate it.
BMA plans to upgrade Bangkok’s building database to a digital system in order to cut down the process of photocopying and to expedite the information retrieval by officers in critical times.