นโยบาย chevron_right

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - เข้าถึงรถไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้นจากการลดค่าโดยสาร ไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน
 

รายละเอียด

รถไฟฟ้าที่ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. 

หาก รฟม.สามารถกำกับดูแลรถไฟฟ้าทุกสายได้จะทำให้การบริหารรถไฟฟ้าแบบองค์รวมได้ เช่น สามารถเอากำไรจากสายหนึ่งไปอุดอีกสายหนึ่งได้ และประชาชนจะได้รับประโยชน์เนื่องจากความเป็นไปได้ในการทำตั๋วร่วมจะมีมากขึ้น ประชาชนอาจไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเมื่อเดินทางข้ามสาย เป็นต้น

รถไฟฟ้าที่ให้บริการในกรุงเทพฯ ประกอบด้วย

  - รถไฟฟ้าสายสีเขียว (กทม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (รฟม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีม่วง (รฟม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีทอง (กทม.) 

  - รถไฟฟ้า Airport Rail Link (รฟท.)

  - รถไฟฟ้าสายสีแดง (รฟท.)

รถไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง

  - รถไฟฟ้าสายสีชมพู (รฟม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (รฟม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีส้ม (รฟม.) 

รถไฟฟ้าในอนาคต

  - รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (กำลังจะประมูล) (รฟม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีเทา (กทม.)

  - รถไฟฟ้าสายสีเงิน (กทม.)

 

  - รถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งออกเป็น 4 ช่วง

ช่วงที่ 1

ส่วนสัมปทาน การเดินรถของเอกชน 2542 – 2572

จ้างเดินรถ 2572 - 2585 (หลังสัมปทานสิ้นสุดลง)

  - สนามกีฬาแห่งชาติ - สะพานตากสิน

  - หมอชิต – อ่อนนุช

ช่วงที่ 2

ส่วนต่อขยายที่ 1 ของ กทม.

จ้างเดินรถ 2555 – 2585 

  - กรุงธนบุรี – บางหว้า 

  - บางจาก – แบริ่ง

ช่วงที่ 3

ส่วนต่อขยายที่ 2 ของ กทม.

รับโอนจาก รฟม. หนี้: 44,429 ล้าน [1]

จ้างเอกชนเดินรถ 2560 – 2585 หนี้: 12,000 ล้าน [2]

จ้างเอกชนติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า หนี้: 20,000 ล้าน (งานระบบรถไฟฟ้า) [3]

ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการส่วนนี้ปี 2560 กทม.ไม่เคยเก็บค่าโดยสารจนถึงปัจจุบัน [4]

  - สำโรง – เคหะฯ

  - ห้าแยกลาดพร้าว – คูคต

ช่วงที่ 4

ส่วนต่อขยายในอนาคต 

  - บางแวก – ตลิ่งชัน 

  - คลอง 3 – วงแหวนรอบนอกตะวันออก

จากการที่ กทม.รับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงที่ 3) มาจาก รฟม.ภาระหนี้จาก 1) การรับโอน 2) ค่าจ้าง 3) ค่างานระบบรถไฟฟ้า และการไม่เก็บค่าโดยสาร ทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงนี้ก่อแต่หนี้และรายจ่าย โดยไม่มีการก่อรายได้แม้แต่น้อย

 

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีด้วยกันอย่างน้อย 9 สัญญา สัญญาทั้งหมดไม่ได้เปิดเผยเป็นสาธารณะ โดยตลอดเวลาที่ผ่านมามีข้อสงสัยในสัญญาต่าง ๆ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวมาโดยตลอด อาทิ การเลี่ยง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ และ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐฯ ด้วยการจ้างเอกชน ผ่าน บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) หรือต้นทุนการบริหารจัดการที่แท้จริงที่ส่งผลให้ค่าโดยสารล่าสุดที่ประกาศนั้นสูงถึง 104 บาท [5] ได้อย่างไร ถึงแม้จะเลื่อนไปแล้ว [6] หรือสัญญาที่มีการระบุให้เอกชน สามารถปรับลดหรือเพิ่มค่าเดินรถจากปัจจัยต่าง ๆ ได้นั้น ผู้ว่าจ้างสามารถขอปรับเพิ่มหรือลดได้หรือไม่ หรือเพดานค่าโดยสารสูงสุด (Authorized Fare) ตามสัญญานั้นสามารถเก็บสูงสุดได้เท่าไร เงื่อนไขการปรับมีอะไรบ้าง มีเงื่อนไขการปรับลดหรือไม่ เป็นต้น

สัญญาโครงการคู่สัญญาระยะเวลา (เวลารวม)
1

สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีสะพานตากสิน (สายสีลม) และสถานีหมอชิต – สถานีอ่อนนุช (สายสุขุมวิท)

กทม.เอกชน2542 – 2572 (30  ปี)
2

สัญญาจ้างบริหารจัดการ

สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีบางหว้า (สายสีลม) และสถานีหมอชิต – สถานีสำโรง (สายสุขุมวิท)

กทม.KT[7]2555 – 2585 (30  ปี)
3

สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง

สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีบางหว้า (สายสีลม) และสถานีหมอชิต – สถานีสำโรง (สายสุขุมวิท)

KTเอกชน2555 – 2585 (30  ปี)
4

สัญญาจ้างบริหารจัดการ

สถานีคูคต – สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีสำโรง - สถานีเคหะ (สายสุขุมวิท)

กทม.KT2560 – 2585 (25  ปี)
5สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง
สถานีคูคต – สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีสำโรง - สถานีเคหะ (สายสุขุมวิท)
KTเอกชน2560 – 2585 (25  ปี)
7บันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้กรุงเทพมหานครคค.[8]กทม.2561
8

สัญญาจ้างติดตั้งระบบงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล  (E&M) 

สถานีคูคต – สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีสำโรง - สถานีเคหะ (สายสุขุมวิท)

KTเอกชน2560 – 2564 (4  ปี)
9ร่างสัญญาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวกทม.เอกชน2572 – 2602 (30  ปี)

[7] บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

[8] กระทรวงคมนาคม

 

กระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ที่ มท 0100/14661) เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นจากส่วนต่อขยายที่ 3 โดยผลการเจรจากับเอกชน โดยสรุปสารสำคัญได้ดังนี้

  - ขยายระยะเวลาร่วมลงทุนเพิ่มเติมจากสิ้นสุดปี พ.ศ. 2572 เป็น 2602

  - เอกชนรับภาระค่าติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า

  - เอกชนรับภาระหนี้เงินกู้ 44,429 ล้านบาท

  - เอกชนรับภาระค่าจ้างเดินรถ

  - อัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท

หากเกิดการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนฉบับนี้จะทำให้โอกาสที่ กทม.จะเข้ามาบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบต้องเลื่อนออกไปอีก 30 ปี หมายความว่าโอกาสที่ กทม.จะกำหนดราคาค่าโดยสารต่ำลง ออกโปรโมชันที่สอดคล้องกับประชาชน โอกาสการนำกำไรจากส่วนสัมปทาน ไปอุดหนุนส่วนต่อขยายที่จำนวนผู้โดยสารน้อยกว่า เพื่อให้การบริการในส่วนต่อขยายยังดำเนินการต่อไปได้ และรวมถึงการเสียค่าแรกเข้าครั้งเดียว เนื่องด้วยปัจจุบันจะต้องเสียให้ กทม.ในส่วนต่อขยายที่ 1 และเมื่อเข้าส่วนสัมปทานก็จะเสียอีกรอบ 

 

นอกจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว กทม.ยังดำเนินการศึกษาเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 2 สายที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว 

  - สายสีเทาเหนือ: วัชรพล - ทองหล่อ สายสีเทาใต้ ทองหล่อ - ช่องนนทรี 

  - สายสีเงิน: บางนา - สุวรรณภูมิ (ซึ่งเดินออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ)

การสร้างรถไฟฟ้าอีก 2 สายจะต้องใช้งบประมาณอีกเป็นจำนวนมาก และสร้างภาระผูกผันระยะยาว

 

ดังนั้น กทม.จะ

  - หารือร่วมกับ รฟม.ในฐานะผู้กำกับดูแลรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในการกำกับดูแลทั้งหมดของ กทม.ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดอยู่กับประชาชนและเป็นธรรมกับเอกชน เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดค่าแรกเข้าและลดค่าโดยสารลง 

  - ศึกษาสัญญาทุกฉบับ สรุปรายละเอียดของปัญหาในทุกมิติในทุกสัญญา เปิดรายละเอียดของสัญญา และหาแนวทางดำเนินการตามกรอบของข้อสัญญา เพื่อให้การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นโปร่งใส ถูกต้อง และหาทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Green Line Skytrain, which is Beneficial to People

 

What will Bangkok residents get?

  - More people can access the Skytrain due to reduced fares without any repetitive entrance fee.

 

Details

Most Skytrain lines operating in Bangkok are under the governance of the MRTA.

If the MRTA could govern every Skytrain line, the Skytrain administration could be unified. For example, the profit from a line can compensate the loss of another line. People will then benefit from the possibility of a common ticketing system. That is, they do not have to pay repetitive entrance fees when switching lines.

Skytrain lines currently in service in Bangkok:

   - Green Line (BMA)

  - Blue Line (MRTA)

  - Purple Line (MRTA)

  - Golden Line (BMA)

  - Airport Rail Link (SRT)

  - Red Line (SRT)

Skytrain lines during construction

  - Pink Line (MRTA)

  - Yellow Line (MRTA)

  - Orange Line (MRTA)

Future Skytrain lines

  - Brown Line (being set up for auction) (MRTA)

  - Grey Line (BMA)

  - Silver Line (BMA)

 

  - The green line consists of four parts

First part

Concession for the private entity's operation 1999-2029

Train operation outsourcing 2029-2042 (after the concession ends)

  - National Stadium - Saphan Taksin

  - Mo Chit - Onnut

Second part

First extension of BMA

Train operation outsourcing 2012-2042

  - Krung Thon Buri - Bang Wa

  - Bang Chak - Bearing

Third part

Second extension of BMA

Transferred from MRTA; debt: Baht 44,429 million [1]

Hiring the private entity to operate the trains 2016-2042; debt: Baht 12,000 million [2]

Hiring the private entity to install the train system; debt: Baht 20,000 million (train system work) [3]

Since this part was opened for service in 2017, BMA has never collected fares [4]

  - Samrong - Kheha

  - Ha Yaek Lat Phrao - Khu Khot

Fourth part

Future extension

  - Bang Waek - Taling Chan

  - Khlong Sam - Eastern Outer Ring

 

As the BMA has transferred the third extension of the Green Line (third part) from the MRTA, there are liabilities from 1) the transfer; 2) wages; 3) train system cost. Nowadays, without collecting fares, the green line only has liabilities and costs without any income.

At least nine contracts are related to the Green Line, none of which are disclosed to the public. There have always been suspicions about the contracts, such as evading the Private Investments in State Undertakings Act and the Public Procurement and Supplies Administration Act by hiring private entities through Krungthep Thanakom Co., Ltd. (KT) or the actual management cost resulting in the latest official fare being as high as Baht 104 [5] despite being postponed [6]. People also doubt whether the hirer can increase or decrease the fare as the contract allows the private entity to increase or decrease train operation costs based on different factors. Some wonder how much the highest authorized fare is under the contracts and under what conditions.

ContractProjectPartyDuration (Total)
1

Green Line Concession

National Stadium Station - Saphan Taksin Station (Silom Line) and Mo Chit Station - Onnut Station (Sukhumvit Line)

BMA1999-2029 (30 years)
2

Administration Contract

National Stadium Station - Bang Wa Station (Silom Line) and Mo Chit Station - Samrong Station (Sukhumvit Line)

BMA2012-2042 (30 years)
3

Train Operation and Maintenance Service Contract

National Stadium Station - Bang Wa Station (Silom Line) and Mo Chit Station - Samrong Station (Sukhumvit Line)

KT2012-2042 (30 years)
4

Administration Contract

Khu Khot Station - Ha Yaek Lat Phrao Station and Samrong Station - Kheha Station (Sukhumvit Line)

BMA2017-2042 (25 years)
5Train Operation and Maintenance Service Contract - Ha Yaek Lat Phrao Station and Samrong Station - Kheha Station (Sukhumvit Line)KT2017-2042 (25 years)
7Memorandum of Agreement regarding Asset Disposal and Financial Obligations Transfer of the Green Line Skytrain Project: Bearing - Samut Prakan and Mo Chit - Saphan Mai - Khu Khot by the Mass Rapid Transit Authority of Thailand to BMAKor.Kor.[8]2018
8

Electrical and Mechanical (E&M) Contract 

Khu Khot Station - Ha Yaek Lat Phrao Station and Samrong Station - Kheha Station (Sukhumvit Line)

KT2017-2021 (4 years)
9Draft Green Line Joint Venture AgreementBMA2029-2059 (30 years)

[7] Krungthep Thanakom Co., Ltd.

[8] the Ministry of Transport

 

The Ministry of Interior has proposed the draft Green Line Joint Venture Agreement (No. MorTor 0100/14661) to solve the debt problems from the third extension. The negotiation results with the private sector can be summarized as follows.

  - To extend the joint venture term from the end of 2029 to 2059.

  - The private sector to bear the cost of train system installation.

  - The private sector to bear the debt of Baht 44,429 million loans.

  - The private sector to bear the train operation hiring cost.

  - The maximum fare to be Baht 65.

If the joint venture agreement is signed, the chance of BMA administering the whole green line system will be postponed for 30 years. This results in less chance for BMA to reduce the fare, launch promotions that people need, use the profit from the concession to compensate for the extensions with fewer passengers to maintain the services, and collect one-time entrance fees. Nowadays, people need to pay an entrance fee to the BMA in the first extension and then pay another entrance fee at the concessioned extension. 

 

Apart from the green line, the BMA is also studying the construction of two other lines connected with the green line. 

  - Northern Grey Line: Watcharapol - Thonglor; Southern Grey Line: Thonglor - Chong Nonsi 

  - Silver Line: Bangna - Suvarnabhumi (which travels outside Bangkok)

The construction of the two additional lines will require a substantial budget and cause long-term obligations.

 

Therefore, the BMA will take the following actions.

  - To discuss with the MRTA, the entity that governs most Skytrains in Bangkok, to jointly find a solution about all Skytrains under BMA now and in the future, for the utmost benefits and fairness for people and to decrease complexity by reducing entrance fees and fares. 

 - After taking the position, BMA will study every contract, scrutinize the problems and details in these contracts, and find solutions under the contracts to ensure that the operation of the Green Line project is transparent and proper and find a way to reduce the train fare as much as possible.