- รถเมล์ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้นทั้งสายหลักและสายรอง โดยมี กทม.เป็นผู้ดำเนินการ
- ส่วนลดหรือไม่เสียค่าแรกเข้าเพิ่ม หากเชื่อมต่อ BRT และรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีทอง
- รถเมล์ใหม่ ชานต่ำ ปรับอากาศ ควันไม่ดำ
- มี GPS เช็กตำแหน่งรถได้
การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมามักมุ่งเน้นพัฒนาเส้นเลือดใหญ่หรือการพัฒนาขนส่งมวลชนระบบหลัก ทั้งรถไฟฟ้าและรถเมล์ที่วิ่งบนถนนหลัก ซึ่งข้อจำกัดคือขนส่งข้างต้นไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนการออกแบบการขนส่งสาธารณะระบบรอง (feeder) เพื่อให้ประชาชนออกจากบ้านมาสู่ระบบหลักเหล่ายังมีอยู่อย่างจำกัด
เมื่อขนส่งสาธารณะระบบรองอย่างเช่นการให้บริการสองแถวหรือรถเมล์สายรองมีข้อจำกัดทั้งในเชิงคุณภาพ (รถทรุดโทรม การบริการไม่ได้มาตรฐาน) และเชิงปริมาณ (เส้นทางไม่ครอบคลุม) จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ขนส่งสาธารณะในภาพรวมด้วย กล่าวคือ ประชาชนจำนวนหนึ่งอาจตัดสินใจไม่ใช้ขนส่งสาธารณะทั้งระบบด้วยเพราะเมื่อพิจารณาคุณภาพและราคาที่ต้องจ่ายเมื่อคำนวณตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงปลายทางนั้นการตัดสินใจเดินทางด้วยวิธีอื่น เช่น รถส่วนตัวอาจคุ้มค่ากว่า
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการใช้ขนส่งสาธารณะ กทม.จะดำเนินการร่วมกับกรมการขนส่งทางบกในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลรถขนส่งสาธารณะทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินการเพิ่มรถเมล์สายหลักสายรองนั้นถูกต้องสอดคล้องกับรถที่ให้บริการเดิม โดย
เพิ่ม / ปรับเส้นทางวิ่งรถสาธารณะ
1. พัฒนารถเมล์สายรอง feeder เชื่อมต่อระบบหลัก โดยเริ่มจากเส้นทางที่เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีทองและ BRT ส่วนเส้นทางที่มีผู้ประกอบการเดิมจะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเดิมก่อน
2. พัฒนาการเดินรถในเส้นทางหลัก (Main Line/Trunk) สำหรับส่วนที่ยังไม่มีการเดินรถ
3. พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทางระดับย่านให้เส้นทางครอบคลุมยิ่งขึ้น
4. พิจารณาเส้นทางจากโครงการปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง
5. พิจารณา “รถเมล์ Event” รถเมล์เฉพาะกิจที่ให้บริการเฉพาะเวลามี Event หรือมีกิจกรรมขนาดใหญ่ เพื่อพาคนเดินทางกลับบ้านหลังงานเลิกอย่างสะดวก พาประชาชนไปเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะหลัก หรือการกระจายคนออกไปจุดต่าง ๆ ลดการกระจุกตัวอยู่หน้าสถานที่จัดงาน ลดการจราจรติดขัด
ลดค่าใช้จ่าย
1. ตั้งเป้าค่ารถเมล์ กทม. 10 บาท ตลอดสาย เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ และนักบวชฟรี
2. พัฒนาระบบรถเมล์ที่ใช้ e-ticket สามารถเปลี่ยนรถเมล์ของ กทม.ได้ในเวลาที่กำหนด โดยไม่เสียค่าโดยสารเพิ่ม
3. ผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ที่บริหารจัดการโดย กทม.และต่อด้วยระบบหลักที่ กทม.เป็นเจ้าของ ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าเพิ่ม
เพิ่มความสะดวก
1. รถชานต่ำ Universal Design รถปรับอากาศ ใช้พลังงานไฟฟ้า
2. รถขนาดเหมาะสมกับพื้นที่และเส้นทาง หากเป็น feeder ตรอกซอกซอย ขนาดรถต้องไม่เกิน 6 - 7 เมตร
3. เปิดสัญญาณ GPS เป็น open data เพื่อให้ประชาชนวางแผนการเดินทางจากได้แอพพลิเคชั่น เบื้องต้นจะพิจารณาประสานความร่วมมือกับ Google Map เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่
4. พิจารณาเปิดระบบการประเมินคุณภาพการให้บริการทั้งตัวรถการให้บริการและผู้ขับขี่
5. พัฒนาระบบชำระเงินที่สามารถชำระได้หลากหลายรูปแบบ
6. ไม่ติดโฆษณาทับกระจกติดแค่บริเวณตัวถัง เพื่อไม่บดบังทิวทัศน์ของผู้โดยสาร
*อัพเดตล่าสุด วันที่ 27 เมษายน 2565
พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน
- Bus services that cover more area, both main lines and minor lines, operated by BMA
- Discounts or no additional entry fee if bus services are connected to BRT and the Green Line and Gold Line
- New buses with a low deck, air conditioned, and emitting no black smoke
- GPS to track the position of buses
Development of public transport in Bangkok in the past focused on the development of the arteries or the main mass transit system, both the electric trains and buses that run on main roads. The limitation is that the above transports do not cover all areas. The design of the secondary public transport systems (feeder) to allow people to leave their homes to the main system is limited.
When secondary public transport systems, such as minibus or secondary bus services, have limitations both qualitatively (vehicles deteriorated and service not up to standard) and quantitatively (bus lines not cover all areas). This affects the overall public transportation use. In other words, a number of people may decide not to use the entire public transport system because of the quality and price to be paid when calculating from their home to the destination. Other means of travel, such as a private car, may be more cost-effective.
Therefore, to support the use of public transport, BMA will work with the Department of Land Transport as the governing body for all public transport vehicles so that the increase of main and secondary buses is consistent with the existing services. The following actions will be taken.
Add / change bus lines
1. Develop a secondary bus feeder to connect to the main system, starting from the lines that connect the Green Line extension, the Gold Line, and BRT. For lines that already have existing operators, BMA will develop the potential of the existing operators first.
2. Develop the main lines / trunks for the areas where bus services are currently unavailable.
3. Develop public transport to travel at the district level to provide more comprehensive lines.
Reduce cost
1. Passengers using the BMA bus service and transit to the BMA-owned main system do not have to pay an additional entry fee.
2. The BMA will develop a bus system that uses e-tickets to change buses at a specified period of time without paying any additional fare or the entry fee in the BMA bus system.
Improve convenience
1. Low-decked, air-conditioned electric buses
2. The bus size is suitable for the area and the route. If it is a feeder, the alley shall not be more than 6 - 7 meters wide.
3. GPS signals will be open data so that people can plan their travel via an application. As the first step, BMA will consider coordinating with Google Map to disclose the data.
4. BMA will consider using the quality assessment system for the service, including the vehicle and operators.
5. BMA will develop a payment system through which payment can be made in many different ways