- สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ง่ายขึ้นโดยใช้จักรยานเป็นตัวเชื่อมต่อจากที่พักอาศัยสู่ระบบขนส่งสาธารณะหลัก
- มีความมั่นใจในการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง
จุดจอดจักรยานปัจจุบันเป็นเพียงโครงเหล็กที่มักจะตั้งอยู่ตามใต้สะพานลอย หรือปากซอย โครงเหล็กเหล่านี้สามารถยกได้ หลายอันไม่ได้ยึดติดกับพื้น หลายอันตั้งอยู่ในจุดที่ไม่ปลอดภัย ไม่มี CCTV หรือขาดแสงสว่าง ภาพจำการจอดจักรยานไว้ในที่สาธารณะของคนจำนวนไม่น้อยจึงไม่ดีเท่าไหร่นัก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ขับขี่จักรยานไม่มั่นใจที่จะจอดจักรยานไว้ที่จุดจอด
ดังนั้น กทม.จะพัฒนาจุดจอดรถจักรยานที่มีคุณภาพและปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้จักรยาน และส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นขนส่งสาธารณะระดับรอง (feeder) มาเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ และเพิ่มจำนวนจุดจอดบริเวณหน้าปากซอยบริเวณป้ายรถเมล์ บริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) และสถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ และกำหนดรอบการดูแลบำรุงรักษาอย่างชัดเจน เพื่อให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยมีโจทย์เบื้องต้น คือ
1. พิจารณาออกแบบที่จอดให้มีลักษณะหลากหลาย เช่น จอดจักรยานแนวตั้ง จอดจักรยานแนวนอนขนานถนน จอดจักรยานเฉียง จอดจักรยาน 2 ชั้น โดยยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2. โครงสร้างของที่จอดจักรยานต้องยึดติดกับพื้น
3. ออกแบบที่จอดจักรยาน โดย
3.1 ให้ยึดจักรยานติดกับพื้นทางเท้า หรือพื้นที่จอดจักรยาน พื้นต้องมีร่องไม่ให้ขยับล้อได้ และยกจากพื้นไม่ได้
3.2 ให้คล้องโซ่ได้ทั้งล้อและท่อนอนจักรยาน (Top Tube)
3.3 ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรถจักรยานหลากหลายประเภท จักรยานแม่บ้าน ไปจนจึงจักรยานเพื่อการนันทนาการ
3.4 ให้มีหลังคาคลุม
4. ติดตั้ง CCTV
5. ติดตั้งแสงสว่าง
6. ติดตั้งครอบคลุมทุกจุดเปลี่ยนถ่ายขนส่งสาธารณะ
7. พิจารณาติดตั้งที่สูบลมจักรยาน
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 26 เมษายน 2565
พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน
- Easier access to public transport with bicycles as the main vehicle connecting home to other means of transport
- Confidence in using bicycles as part of daily commute
Now, bicycle parking is a mere set of metal racks placed under pedestrian bridges or at the entrance to side streets. Most of these racks are moveable without any screws anchoring them to the ground, and are located at unsafe spots without CCTV or adequate lighting. As a result, parking bicycles at public racks usually come to mind as a negative image, discouraging bicycle users from parking their vehicles at these provided points.
Hence, the BMA will improve the quality and safety of bicycle parking lots, boosting confidence among bicycle users and promoting bicycle as feeder modes, connecting small streets to main public transportation systems, with more parking capacity at entrance of side streets, bus stops, transport hub, and other transport stations, with primary objectives to:
1. Come up with different designs for bicycle parking to accommodate various space requirements, such as vertical bike racks, parallel bike racks, oblique bike racks, two-tier bike racks, etc
2. Ensure that bike racks are affixed to the ground
3. Make sure that bike racks are:
3.1 Fixed to the ground
3.2 Designed to allow chain lock to be laced through both the wheel and the bicycle frame
3.3 Designed to accommodate various types of bicycles, from city bikes for daily use to bikes for recreational purposes.
3.4 covered
4. Install CCTV
5. Erect lampposts
6. Place bike racks at all major transit hubs
* Last updated on March 10, 2022
Improved according to public suggestions