นโยบาย chevron_right

พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ลดค่าใช้จ่ายและแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองหลังช่วงลาคลอด

  - มีพื้นที่ให้ผู้ปกครองได้ปรึกษาและแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็ก

  - มีบุคลากรที่พร้อมดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กให้มีพัฒนาการสมวัย 

 

รายละเอียด

ปัจจุบัน กทม.มีศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กที่เริ่มรับเด็กเข้าไปดูแต่ตั้งแต่ประมาณ 2 ขวบครึ่ง ไปจนถึงเข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งในระดับอนุบาลและประถม มีจำนวน 291 ศูนย์ (ที่ผ่านการประเมินในปี 2563 [1]) อย่างไรก็ดียังเกิดช่องว่างระหว่างช่วงที่ขาดการดูแลจากรัฐสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 2 ขวบครึ่ง ซึ่งในบางครั้งพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ (ประกันสังคมจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน) ในยุคนี้ที่ค่าใช้จ่ายในการมีลูกสูงขึ้น และอัตราการเกิดของประชากรน้อยลง การพัฒนาศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและภาระของผู้ปกครอง โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ยังต้องทำงานและเลี้ยงดูลูกไปพร้อมกัน และเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก นอกเหนือจากเรื่องจำนวนศูนย์ฯ และการบริการแล้ว แม้บุคลากรของศูนย์จะได้รับเงินเดือน แต่อยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำและไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพและค่าตอบแทนของตลาด ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนบุคลากรมากขึ้นในอนาคต 

ดังนั้น กทม.จะพัฒนาศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กในประเด็นดังต่อไปนี้

 1. เพิ่มปริมาณ – เพิ่มการจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กโดยเฉพาะศูนย์ขนาดเล็กในชุมชน ศูนย์บริการตามแหล่งงานให้มีความครอบคลุมกับความต้องการ

 2. เพิ่มการบริการ – ขยายการดูแลให้ครอบคลุมเด็ก เริ่มตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน โดยในช่วง 3-6 เดือนจะเป็นการสนับสนุนให้แม่นำบุตรมาเลี้ยงที่ศูนย์และเป็นการช่วยดูแลไปพร้อมกัน เนื่องจากในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่นมแม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ส่วนสำหรับช่วงอายุ 6 เดือน-2 ขวบครึ่ง จะเป็นการฝากรับเลี้ยงตั้งแต่ 7-8 โมงเช้า จนถึง 5-6 โมงเย็น และไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลเด็กอ่อน เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาเข้างานและเลิกงานของผู้ปกครองในพื้นที่ รวมถึงแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็กอ่อน

 3. เพิ่มหนังสือ - จัดหาหนังสือดี มีคุณภาพ เหมาะสมสำหรับเด็ก 3 - 6 เดือน - 3 ปี (กรมอนามัยได้มีการคัดสรรนิทานที่เหมาะสำหรับเด็กอายุ 0 - 3 ปี จำนวน 100 เรื่อง) โดยให้มีเพียงพอต่อเด็กในการดูแลอย่างน้อยเด็ก 1 คนต้องมีหนังสือ 3 เล่ม ให้สามารถยืมกลับบ้านหรืออ่านที่ศูนย์ฯ ได้  

 4. เพิ่มบุคลากรและค่าตอบแทน - เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลเด็กเล็ก กทม.จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการดูแลเด็กเล็ก เด็กอ่อน และเสริมความเชี่ยวชาญในการใช้หนังสือเพื่อพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัย พร้อมกับปรับค่าตอบแทนบุคลากรตามการฝึกฝนให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและสอดคล้องกับค่าตอบแทนของตลาด

5. เพิ่มค่าอาหารสำหรับเด็กอ่อนและเด็กเล็ก - เพิ่มเงินสนับสนุนค่าอาหารแก่ศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็ก [2] ให้เป็น 40 บาท/วัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับค่าอาหารของระดับอนุบาล-มัธยมของโรงเรียนในสังกัด กทม. [3]

6. ส่งเสริมหลักสูตร - เน้นให้เด็กทำเป็น เล่นเป็น เรียนรู้เป็น

 

*อัพเดตล่าสุดวันที่ 18 เมษายน 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Establishing daycare centers for infants-children near communities and work places

 

What will Bangkok residents get?

  - Saving for new parents after childbirth

  - Places for parents to share and exchange their experience in childcare

  - Readily available personnel specializing in child development

 

Details

Currently, the BMA is running daycares which accept children from the age of 2 and a half years to school-age kids. However, the period after childbirth to the age of 2 and a half years is still a gap during which parents might not always be able to provide full-time childcare (as the Social Security Office pays new parents 50 percent of their income for 90 days). Hence, the BMA will address the issue by:

  1. Establishing more daycare centers – increase the number of daycares for infant-young children especially small centers near communities or workplaces to cover more demands;

  2. Expanding the scope of service – extend the age of children to be taken care of by government service to 3 or 6 months, during which period mothers will be encouraged to bring their children to the centers for assistance in childcare, while for the children between the age of 6 months and 2 and a half years daycare service will be provided from 7-8 AM until 5-6 PM, to accommodate the working hours for parents;

  3. Increasing compensations and the number of personnel – This is to improve the capacity and train related personnel in taking care of infants and small children, while at the same time raise the compensations for the staff in accordance with respective trainings they get to better meet the living costs in Bangkok.