- มีทางเลือกในการทำกิจกรรมและได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้นผ่านประวัติศาสตร์สิ่งต่าง ๆ ในเมือง
ป้ายท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ (ป้ายน้ำตาล) เป็นโครงการที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2546 – 2549 รวม 430 ป้าย แบ่งเป็น 2546 – 2547 จำนวน 160 ป้าย 2549 จำนวน 270 ป้าย ป้ายอยู่ภายใต้การดูแลของ 3 สำนัก 1) ส่วนการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ดูแลเนื้อหาและข้อมูล 2) สำนักจราจรและขนส่ง กรุงเทพ ดูแลเรื่องกายภาพและการติดตั้งป้าย 3) ฝ่ายโยธา สำนักงานเขต หากมีการเคลื่อนย้ายหรือถอนเล็กน้อยโดยจะได้รับการประสานจากส่วนการท่องเที่ยว
ลักษณะป้ายในปัจจุบันเป็นเสากล่องสี่เหลี่ยมคู่ ส่วนเนื้อหาเป็นแผ่นโลหะสีน้ำตาลทรงจัตุรัส และด้านบนสุดของป้ายเป็นแผ่นสแตนเลสโค้งตกแต่ง ส่วนองค์ประกอบของเนื้อหานั้นประกอบด้วย 3 ส่วน 1) สัญลักษณ์สถานที่ 2) ชื่อสถานที่ ไทยและอังกฤษ 3) คำอธิบาย ไทยและอังกฤษ
ปัญหาของป้ายในปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ประเด็น 1) สภาพทรุดโทรมไม่ได้รับการบำรุงรักษา ไม่มีแนวทางการปรับปรุงป้ายทั้งหมด 2) รูปแบบการเล่าที่ไม่มีแบบแผน บางป้ายเน้นเล่าประวัติบางป้ายเน้นเล่ารูปแบบสถาปัตยกรรม 3) ไม่มีภาพและแผนที่ประกอบ เนื่องด้วยบางเนื้อหามีการพูดถึงรายละเอียดจุดเล็ก ๆ ที่ไม่เห็นจากป้าย หรือหากมีการพูดถึงภาพรวมก็จะไม่เห็นภาพแผนที่ เป็นต้น 4) เนื้อหาภาษาไทยและอังกฤษไม่เท่ากัน ทำให้ชาวต่างชาติไม่ทราบรายละเอียดเท่าภาษาไทย
ดังนั้น กทม.จะดำเนินการปรับปรุงป้ายท่องเที่ยวให้มีความชัดเจน ถูกต้อง เข้าใจง่าย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ให้ทุกสถานที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ตัวอย่างแนวทางการพัฒนา
นำร่องพัฒนา 120 ป้าย ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีพัฒนาใน 2 มิติ 1) เล่าเรื่องใหม่ 2) รูปแบบป้ายใหม่
เล่าเรื่องใหม่
- นำสีมาช่วงแบ่งยุคสมัยของสถานที่ ตั้งแต่ยุคก่อนรัตนโกสินทร์ถึงยุคปัจจุบัน การนำสีที่สามารถระบุยุคสมัยมาช่วยเล่าเรื่องจะทำให้เราเห็นพัฒนาการของเมืองได้จากสี และเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว การกระจายตัวของสถานที่สำคัญสามารถสันนิษฐานได้ว่าช่วงใดการพัฒนากระจุกตัวอยู่ในบริเวณใด
- องค์ประกอบในการเล่าเรื่องใหม่ ประกอบด้วย 1) ชื่อสถานที่ / แถบสีบอกยุคสมัย 2) เนื้อหาโดยย่อ สรุปสาระสำคัญของสถานที่นี้เป็นข้อ ๆ 3) ส่วนองค์ประกอบเพิ่มเติม อาทิ ภาพ แผนผัง รายละเอียดสถาปัตยกรรม ฯลฯ 4) ประวัติ 5) แผนที่โดยรอบ 6) ป้ายบอกทางไปสถานที่โดยรอบ 7) QR Code เพื่อสแกนข้อมูลเพิ่มเติม
- ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อร่วมจัดทำข้อมูล ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพเก่าประกอบ รวมถึงการเพิ่มเติมป้ายในจุดที่อาจจะหลงลืมและละเลยกันไป
รูปแบบป้ายใหม่
- ปรับรูปแบบป้ายให้กระชับขึ้น ออกแบบป้ายหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ หากบริเวณนั้นมีเสาอยู่แล้วอาศัยเสาเดิม หรือบริเวณมีแนวรั่วเดิมก็ใช้รูปป้ายเป็นแนวนอนนำป้ายไปติดตั้งกับรั่ว ไม่เพิ่มเสาในบริเวณนั้น หากไม่มีเสาหรือแนวรั่วจึงค่อยติดตั้งป้ายแบบมีฐาน โดยป้ายจะต้องไม่ขีดขวางทางเดิน ติดตั้งขนานไปกับทางเท้า
จัดทำข้อมูลทั้งหมดขึ้นระบบออนไลน์เปิดข้อมูลเป็นสาธารณะทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้ เบื้องต้นจะนำข้อมูลไปเชื่อมต่อกับ Google Map ให้รายละเอียดของสถานที่แสดงในออนไลน์และออฟไลน์ รวมไปถึงการต่อยอดสร้างเส้นทางท่องเที่ยว
*อัพเดตล่าสุด วันที่ 23 มีนาคม 2565
- People will have alternatives to conduct activities and get to know more about Bangkok through the history of things in the city.
Tourism and landmark signs in Bangkok (brown signs) were implemented from 2003 – 2006. There are 430 signs, 160 of which installed between 2003 – 2004 and 270 signs in 2006. The signs are under the responsibility of three government bodies, namely 1) Tourism Division where the Culture, Sport, and Tourism Bureau is in charge of content and information, 2) BMA Bureau of Traffic and Transport responsible for physical condition and installation, and 3) the Department of Civil Works of the District Office. If the signs are to be moved away or pull up, the Tourism Division will be the government body to coordinate with relevant agencies.
The existing signs have two poles in the shape of a square box. The content area is in a square shape and made of brown metal. The topmost area is curved stainless steel. The content included 1) symbols of the place, 2) names of places in Thai and English, and 3) descriptions in Thai and English.
There are currently four issues with the signs. 1) The signs are in a poor condition due to little maintenance. There is no plan to improve any signs at all. 2) There is no specific pattern to tell the story. Some signs focus on telling history, while others on architectural details. 3) There is no illustration of pictures and maps. Some content involves small details that cannot be seen from the sign. If the content discusses the overall details, the picture will not be visible. 4) The length of Thai and English content is not proportional. Foreigners cannot understand the content in Thai language.
Therefore, BMA will continue to improve tourism signs to be more accurate and understandable. The signs should be a source of historical data.
Examples of the development model
A total of 120 signs will be the pilot signs in Rattanakosin Island. The development will be done in two dimensions: 1) new narration and 2) new signs.
New narration
- Colors will be used to separate periods of landmarks. Using colors to distinguish the eras will enable visitors to see the development of the city
- New elements in the narration include 1) name of the place / color to identify the era, 2) summary of the content, 3) additional elements such as pictures, plans, and architectural details, 4) history, 5) map of nearby areas, 6) directions to nearby places, and 7) QR code for more information.
- Seek cooperation with universities offering the subjects of history, art history, archaeology, the National Archive Office, and the National Library Office to collect complete and accurate information that includes old pictures. Signs might be additionally installed in the area where signs are missing or not available.
New design of the signs
- The new design of the signs will be more concise to suit the local context. If the area already has poles, the existing poles will be used. If there is an empty space in that area, horizontal signs will be installed without putting more signs in the area. If there is no poles or missing signs, new signs will be installed. The new signs must not block the walkway. Instead, it will be in parallel with the walkway.
The database will be an open source where anyone can access. At first, the data will be linked to Google Map to provide the details of the places on the online and offline platforms. Next, the data will be integrated with tourist destinations.
* Last update on 15 March 2022