- หลักสูตรที่ทันสมัย ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมต่อการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ รวมถึงการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต
- โอกาสในการเข้าถึงความต้องการของตลาดแรงงานตามสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ
กิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนต้องสนองต่อความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน [1] อย่างไรก็ดีการเรียนการสอนบางส่วนของโรงเรียน กทม. ในด้านการพัฒนาผู้เรียนจะยังเน้นกิจกรรมในรูปแบบเดิม เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ชุมนุมต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพให้กับนักเรียน กทม. กทม.จะพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพเลือกเสรีให้กับนักเรียนระดับมัธยมใน กทม.โดย
- พัฒนาวิชาเลือกร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ เช่น สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอาชีวะ โรงเรียนฝึกอาชีพ / ศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. และองค์กรเอกชนต่าง ๆ
วิชาที่ควรขยายผลเบื้องต้น เช่น
1. วิชาการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) – พัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่การผลิต การจัดการสินค้าและบริการ การขาย การตลาดทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษี
2. วิชาการเงินส่วนบุคคลและบัญชีครัวเรือน – ให้ความรู้เกี่ยวความรู้ความเข้าใจทางการเงิน เช่น การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การวางแผนทางการเงินในวัยต่าง ๆ การออมและการลงทุนการสร้างอิสรภาพทางการเงินของตนเองและครอบครัว เช่น
3. สอนเกี่ยวกับภาษีเงินได้ การประกันชีวิต การลงทุนประเภทต่าง ๆ
4. วิชาชีพอุตสาหกรรม (ช่าง) - สอนเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในการเป็นประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
5. วิชาคหกรรม เช่น การทำอาหาร งานประดิษฐ์ งานฝีมือ งานบริการต่าง ๆ เช่นการทำอาหารไทย อาหารต่างชาติ การอบขนม เป็นต้น
- กำหนดให้วิชาเหล่านี้เป็นวิชาเลือกให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. โดยที่การเรียนวิชาเหล่านี้จะถูกนำไปคิดเกรดของนักเรียนด้วย (โดยจะเน้นพัฒนาที่ระดับชั้นมัธยมปลายก่อนแล้วจึงขยายไปยังมัธยมต้นในวิชาที่เหมาะสม)
- ปรับเพิ่ม – ลดรายวิชาเลือกเพิ่มเติมตามความสนใจของนักเรียนในแต่ละปีเพื่อให้หลักสูตรมีความเป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานอยู่เสมอ
*อัพเดตล่าสุด วันที่ 24 มีนาคม 2565