นโยบาย chevron_right

แจกอาหาร ก้าวผ่านวิกฤต เปิดครัวกลางที่โรงเรียนหรือชุมชนผ่านความร่วมมือกับภาคเอกชน

คนกรุงเทพฯ จะได้อะไร

  1. บรรเทาและส่งต่อความช่วยเหลือในภาวะวิกฤตโควิด-19 และผลกระทบด้านเศรษฐกิจรายได้
  2. ลดค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพให้กับกลุ่มผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ผู้มีรายได้น้อย หรือกลุ่มเปราะบาง
  3. สร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชน

 

รายละเอียด

ท่ามกลางภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าประชาชนหลายครัวเรือนที่อาศัยกระจายตัวอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ต่างได้รับผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐกิจ ขาดรายได้ ตกอยู่ในภาวะว่างงาน โดนเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน ส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ถึงความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กทม. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จะมีโครงการและมาตรการช่วยเหลือในหลายรูปแบบ เช่น ครัวสนามเคลื่อนที่ หรือการส่งต่อวัตถุดิบ ของใช้จำเป็นให้แก่ครัวกลางชุมชน แต่ผลลัพธ์จากสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น พบว่าความช่วยเหลือยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เดือดร้อน

กทม. จะดำเนินการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดครัวกลางชุมชน ให้ครอบคลุมกับความต้องการของทั้ง 6 กลุ่มเขต 50 พื้นที่ โดยเป็นไปตามความสมัครใจและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ ใช้พื้นที่กลางชุมชน โรงเรียน หรือศาสนสถาน (วัด/มัสยิด/โบสถ์/ศาลเจ้า) ร่วมมือกับภาคเอกชนที่ต้องการส่งสิ่งของช่วยเหลือ เช่น ผู้ผลิตสินค้าเกษตร ผู้ประกอบการห้างค้าปลีก และซุปเปอร์มาร์เก็ต ทำงานควบคู่กับภาคประชาสังคมในการสำรวจ รวมถึงบริหารจัดการข้อมูล

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)