นโยบาย chevron_right

ปรับปรุงอาคาร สถานที่ ของ กทม.ตามหลักการออกแบบสำหรับทุกคน (Universal Design)

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ทุกคนสามารถเข้าใช้งานอาคารสถานที่ของ กทม. 

รายละเอียด

อาคารสาธารณะ เช่น สถานพยาบาล อาคารประกอบกิจการรับดูแลเด็กและผู้พิการหรือคนชรา อาคารชุด อาคารขนาดใหญ่ อาคารพาณิชย์ สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตาม กฎกระทรวง กําหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคาร สําหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ซึ่งกำหนดให้อาคารสถานที่ที่กำหนดต้องมีสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก ทางลาดและลิฟต์ บันได ที่จอดรถ ทางเข้าทางเดินทางเชื่อม ประตู ห้องน้ำ พื้นผิวต่างสัมผัส [1] ซึ่งกฎกระทรวงฉบับนี้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2548 แต่อาคารสถานที่ในการดูแลของ กทม.หลากหลายที่ก็ยังไม่สร้างให้ตามกฎกระทรวงดังกล่าว

ดังนั้น กทม.จะปรับปรุงอาคารสถานที่ในการดูแลของ กทม.ทั้งหมด เช่น สวนสาธารณะ ลานกีฬา ห้องสมุด ศูนย์สร้างสุขฯ ศูนย์กีฬา สำนักงานฯ ฯลฯ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนสำหรับคนพิการครบถ้วนตามกฎกระทรวงฯ พร้อมกับตรวจสอบให้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งานอยู่เสมอ  

 

อัพเดตล่าสุดวันที่ 25 เมษายน 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ คลิก

สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย
Building Transportation Hubs for Convenient Interchange
โครงสร้างดี เดินทางดี
เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย
Development of suitable infrastructure for hawker zones
สิ่งแวดล้อมดี โครงสร้างดี
หาพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร (hawker center)
Find areas of the private sector or government sector that can be converted into a hawker center
เศรษฐกิจดี โครงสร้างดี
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาเมือง
Improving infrastructure to further develop the city
โครงสร้างดี
วางแผนแนวคิดเมืองใหม่ที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ชานเมือง
Formulating the New City Concept in the Suburban Areas
โครงสร้างดี