- การจราจรคล่องตัวขึ้นจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือ แก้ไขปัญหาจราจร และจัดการจราจรสอดคล้องและต่อเนื่องกันยิ่งขึ้น
หน่วยงานที่ดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจราจรมีมากถึง 37 หน่วยงาน [1] แบ่งความรับผิดชอบเป็นหลายส่วน เช่น
- กทม.ดูแลโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่ง เช่น ไฟจราจร ถนน สะพาน ป้ายรถเมล์ เป็นต้น และโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ก็กระจายความรับผิดชอบไปยังอีกหลายหน่วยงานในสังกัด กทม.ทั้งสำนักโยธา สำนักจราจรและขนส่ง เป็นต้น
- กองบังคับการตำรวจจราจร ดูแลเรื่องการบริหารจัดการจราจร จับ/ปรับผู้กระทำผิด
- หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมการขนส่งทางบกดูแลเรื่องสภาพรถ ใบอนุญาตยานพาหนะ กรมทางหลวงชนบทดูแลสะพาน และถนน เป็นต้น
ที่ผ่านมาหน่วยงานที่ทำงานด้านจราจรข้างต้นยังคงบริหารจัดการแยกส่วน ต่างฝ่ายต่างดำเนินการตามขอบเขตอำนาจของตนเอง แม้ที่ผ่านมามีการจัดการประชุมร่วมกันแต่ประชุมเป็นครั้ง ๆ ไปตามนัดหมาย ไม่มีศูนย์กลางที่ทุกหน่วยงานเข้ามาร่วมกันบริหารเป็นประจำ จึงส่งผลให้การแก้ไขปัญหาจราจรล่าช้า และไม่ได้รับการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสมทันที
ดังนั้น กทม.จะจัดตั้งศูนย์ควบคุมสั่งการจราจรกลาง (Command Center) ร่วมกับ กองบังคับการตำรวจจราจร (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารการจราจรเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน จัดการจราจรโดยภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ สอดประสาน เป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ โดยจัดตัวแทนเจ้าหน้าที่ กทม.เข้าร่วมทำงานกับตำรวจอย่างใกล้ชิด
*อัพเดตล่าสุด วันที่ 11 มีนาคม 2565
- The traffic flow will be smoother as every party involved in traffic management can better coordinate in managing and resolving traffic issues.
There are as many as 37 state agencies involved in traffic management [1], each with various responsibilities, such as:
- The BMA, responsible for maintenance of some infrastructures, such as lampposts, roads, bus stops, etc. In turn, these duties are distributed to subordinate units, such as Department of Public Work and Bangkok Traffic and Transportation Department;
- Traffic Police Division, in charge of traffic management and enforcing traffic laws;
- Other agencies, such as Department of Land Transport overseeing in-use vehicle inspections and driving license, Department of Rural Roads supervising maintenance of bridges and roads, etc.
Until now the said traffic agencies have been working separately within their scope of responsibility. Despite occasional attempts to organize collaborative plans, they are mostly incidental conferences without central control hub for relevant agencies to regularly coordinate workplans, leading to delays in resolving traffic issues and lacks of appropriate and immediate traffic solutions.
Therefore, the BMA will set up Traffic Command Center in conjunction with Traffic Police Division (Royal Thai Police) and other related agencies, in order to create incorporated consistent traffic management with the BMA representatives working closely with the traffic police.
* Last updated on March 11, 2022