นโยบาย chevron_right

กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม.

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - มีทางเท้าที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกมิติทั้งด้านคุณภาพ มาตรฐานการก่อสร้าง และความร่มรื่น ซึ่งการดำเนินการพัฒนาทางเท้าจะทำอย่างเป็นระบบแบบแผนและมีการรายงานผลให้ประชาชนทราบ

 

รายละเอียด

ปัญหาทางเท้าเป็นหนึ่งในปัญหาที่เรื้อรังของกรุงเทพฯ 

สถิติการเก็บข้อมูลของทีม ‘เพื่อนชัชชาติ’ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ให้ประชาชนทั่วไปสามารถร้องเรียนปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันพบว่าระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2565 มีการรายงานปัญหาทางเท้าในกรุงเทพฯ มากกว่า 150 จุด ครอบคลุมหลายมิติตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพของพื้น (ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ พื้นกระเบื้องไม่แน่น มีน้ำขัง) ปัญหาด้านความสะอาด (คราบอาหาร สิ่งสกปรก) ไปจนถึงด้านความปลอดภัย (ทางข้ามไม่ครบถ้วน เบรลล์บล็อกไม่ต่อเนื่อง ป้ายกีดขวางทางจราจร) 

นอกจากนี้ทางเท้ายังไม่ได้มาตรฐานอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ที่ต้องคำนึงถึงความกว้างทางเท้าที่ต้องเว้นระยะให้เดินอย่างสะดวก ระยะความสูงป้ายเหนือหัวจะต้องไม่ติดตั้งต่ำกว่าที่กำหนด หรือทางต่างระดับจะต้องมีทางลาดในองศาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย รวมถึงกระเบื้องเตือนและกระเบื้องนำทางที่พบว่าติดตั้งไม่ถูกต้อง ความเรียบของทางเท้า 

อีกทั้งยังพบว่าการดำเนินการที่ผ่านมาหลายครั้งทำในจุดที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็น เช่น มีการเลือกปรับปรุงในจุดที่มีผู้สัญจรทางเท้าน้อยก่อน เป็นต้น 

ดังนั้น กทม.จะพัฒนาคุณภาพทางเท้าให้ประชาชนสามารถสัญจร อย่างน้อย 1,000 กิโลเมตร โดย

  1. สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน กำหนดแบบก่อสร้างมาตรฐานทางเท้าใหม่ พิจารณาแบบกระเบื้องให้เรียบไม่มีตัดขอบ ให้มีมาตรฐานในการออกแบบ Universal Design มาตรฐานที่ดีในการก่อสร้างเพื่อทางเท้าคงทนแข็งแรง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่กระทบต่อการเดินของประชาชนให้น้อยที่สุด ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า และทางเท้าโล่ง สะอาดเป็นระเบียบ

  2. ทางเท้ามีคุณภาพ ให้ความร่มรื่น มีการดูแลต้นไม้ริมทางด้วยรุกขกรประจำเขต ส่วนไม้พุ่มเตี้ยที่เบียดบังทางเดินจะพิจารณาปรับเป็นทางเท้าเพื่อขยายทางเดิน และหากพื้นที่ไหนเหมาะสมอาจพิจารณาพัฒนา Covered Walkway

  3. จัดลำดับความสำคัญในแต่ละเขต กำหนดแผนการพัฒนาทางเท้าและเป้าหมายสั้น กลาง ยาว ให้ชัดเจน ตามความสำคัญของการใช้งาน ทางเท้าที่ประชาชนมีการสัญจรสูงและพื้นที่ที่ได้รับรายงานปัญหามาจากประชาชน 

  4. รายงานความก้าวหน้าให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และติดตาม กำหนดรอบการดูแลคุณภาพการซ่อมแซม

 

*อัพเดตวันที่ 4 พฤษภาคม 2565

พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Walkable Bangkok: improving quality of 1,000 km of pavement


What will Bangkok residents get?

  - Well-cared-for quality pavements that meet all construction standards, providing greenery for pedestrian, with systematically laid-out plans for future pavement development and outcome reports to be published.

 

Details

Pavement problems have chronically plagued Bangkok for a long time.

According to statistics Friends of Chadchart team has collected from database of self-reported data from residents of Bangkok on issues they experience in daily life, it is found that between January to February 2022 there have been reports on pavement issues at more than 150 locations, covering wide range of cases, from physical conditions (uneven surfaces, potholes, loose tiles, pools of water), hygiene (food stains, waste) to safety issues (faded crosswalks, disrupted Braille blocks, signs obstructing sidewalks).

It is also found that Bangkok’s pavements do not meet the standards of Universal Design, which takes into consideration such details as the width of the sidewalk for pedestrians’ convenience, the designated height of overhead signs, the specific angles of ramps for the safety of wheelchair users, tactile ground with detectable warning tiles, and the evenness of paved surface.

In addition, several improvements in the past were undertaken in the area with low necessity, such as in areas with few pedestrians, etc.

 

Hence, the BMA will improve the quality of at least 1,000 kilometers of pavements across Bangkok, implementing following measures:

  1. Repairing pavements, enhancing quality and durability (สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน); designating standardized blueprints of pavements that meet the Universal Design requirements in order to construct sturdy sidewalks within appropriate timeframe so as to cause the least inconvenience for pedestrians. The new road to be built in the future must be evenly aligned with the pavements, which in turn must be kept clear, clean, and organized (ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า, ทางเท้าโล่ง สะอาดเป็นระเบียบ);

  2. Creating quality pavements with greenery along the way (รุกขกรประจำเขต), to be taken care of by district arborists, with future plans for Covered Walkway in chosen areas;

  3. Prioritizing the urgency in each district, clearly specifying development plans in short, middle, and long terms according to necessity as reported by residents;

  4. Keep updating progress so that the public can always keep track of the development of reparations of the 1,000 kilometers, making sure there is no digging on the pavement throughout the four years of the project.

 

* Last updated on March 11, 2022

Improved according to public suggestions