- เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงทุกรูปแบบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในหลายมิติของชีวิต ทั้งการเดินทาง การเลือกโซนที่อยู่อาศัย และการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- หน่วยงานต่าง ๆ สามารถจัดการกับจุดเสี่ยงในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว
การจัดการเมืองให้ปลอดภัยจำเป็นต้องมีข้อมูลเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่ครบถ้วนรอบด้าน ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอก กทม.
ภายใน กทม.เช่น สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักอนามัย สำนักการโยธา
ภายนอกกำกับของกทม. เช่น สถานีตำรวจนครบาล กองบังคับการตำรวจจราจร การประปานครหลวง กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงาน ฯลฯ
เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความรอบภัยได้อย่างรอบด้าน ทั้งในระยะการเตรียมความพร้อม การระงับเหตุ การช่วยเหลือเยียวยา อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำมากที่สุด กทม.จะ
1. รวบรวมฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลจุดมืด ข้อมูลสถิติอาชญากรรม ข้อมูลอุบัติเหตุ ข้อมูลน้ำท่วม ข้อมูลพื้นที่ต่ำ ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำเป็นแผนที่ความเสี่ยงกรุงเทพฯ (Bkk Risk map)
2. วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อแก้ไข ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันเหตุ หรือเพื่อสนับสนุนการเผชิญเหตุ
3. เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงล่าสุด หรือข้อมูลอุบัติเหตุ การระวังภัยแบบเรียลไทม์สู่สาธารณะเพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เช่น การวางแผนเดินทาง กิจกรรมประจำวัน ไปจนถึงการเลือกที่อยู่อาศัย หรือการอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
4. พัฒนาการเชื่อมต่อระบบส่งข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์ความเสี่ยงสูง หรือการแจ้งอพยพให้แก่ประชาชนทุกคน ทุกเครือข่าย
5. พิจารณาความเป็นไปได้ในการเปิด API ให้นำข้อมูลความเสี่ยงบางส่วน ไปประยุกต์ใช้กับแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อกระจายข้อมูลสู่ประชาชนในวงกว้าง
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 29 เมษายน 2565
- Access to risk data in every form to contribute to decision making in many dimensions of life, from transport, accommodations, to evacuation in case of emergency
- Systematic and immediate risk managements implemented by state agencies
Risk managements require complete and holistic data on circumstances and environments in each area, which must be fed from several agencies both within and outside the supervision of the BMA.
Some examples of related state agencies under the BMA include Department of Disaster Prevention and Mitigation, the BMA Department of Health, Department of Public Work, etc.
Examples of related agencies outside the supervision of Bangkok include Metropolitan Police Bureau, Metropolitan Police Station, Metropolitan Waterworks Authority, Pollution Control Department, Department of Factory, etc.
In order to implement holistic and efficient disaster management from preparation, intervention to relief, the BMA will:
1. Accumulate a database of relevant information such as dark unlighted locations, crime rates, accident rates, flood data, data on low-lying areas, factory statistics, etc., to compile BKK Risk Map
2. Analyze the collected data to address the issues, improve infrastructures to prevent threats, or to support risk response
3. Publish latest risk or accident data and real-time warning systems to help commuters make decisions about travelling, daily activities, accommodations, and evacuation in case of emergency
4. Developing an integrated warning system via SMS to the citizens in the area under high risk or recommended for evacuation
5. Consider the possibility of creating API, integrating parts of the risk data into the applications or websites to be provided for the public
* Last updated on April 29, 2022