- ปลอดภัยมากขึ้นจากการที่สามารถลดเวลาในการเข้าระงับเหตุ จำกัดวงความเสียหาย
- ลดข้อจำกัดในการเข้าถึงของยานพาหนะบรรทุกน้ำขนาดใหญ่
กรุงเทพมหานครมีจำนวนประปาหัวแดงอยู่ ประมาณ 20,000 แห่งซึ่งยังไม่ครอบคลุมข้อกำหนดตามมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ว่าในเขตเมืองต้องมีทุก 200 เมตร และพื้นที่รอบนอกต้องมีทุก 500 เมตร
ประปาหัวแดงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยให้การระงับเหตุอัคคีภัยทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยมาตรฐานการระงับเหตุสาธารณภัยสากลกำหนดเป้าหมายเข้าถึงอยู่ที่ภายใน 8 นาทีหลังจากเกิดเหตุ
อย่างไรก็ตามรูปแบบของพื้นที่เมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จำนวนประปาหัวแดงเดิมที่มีอยู่ไม่สัมพันธ์และไม่ครอบคลุมต่อความหนาแน่นของประชากรและสิ่งปลูกสร้าง โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ชั้นกลาง และย่านที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพชั้นนอก
ดังนั้น กทม. จะ
1. เพิ่มจำนวนประปาหัวแดง โดยเฉพาะในเขตเมืองขยายในบริเวณกรุงเทพฯ ชั้นกลาง กรุงเทพฯ ชั้นนอก และชุมชนแออัดตรอกซอกซอย ในบริเวณพื้นที่ชั้นในที่ยังขาดการติดตั้ง เพื่อให้มีจำนวนประปาหัวแดงที่สัมพันธ์ต่อการขยายตัว และความหนาแน่นของประชากรและสิ่งปลูกสร้างในเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานครให้มีจำนวนครอบคลุมได้มาตรฐานของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมาตรฐานสากล ให้สามารถให้บริการน้ำสำหรับดับเพลิงในสภาวะฉุกเฉิน
2. ตรวจสอบสถานะและสภาพความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ โดยพิจารณาศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การติดเซนเซอร์เพื่อติดตามตรวจสอบสถานะความพร้อมของประปาหัวแดงจุดต่าง ๆ
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 23 มีนาคม 2565
- More safety because incidents can be addressed more quickly and the damage limited
- Reduced access restrictions of large water tankers.
Bangkok has approximately 20,000 fire hydrants (จำนวนประปาหัวแดง), which have not yet fulfilled the standard requirements stipulating that the urban area must have one every 200 meters and the outer area must have one every 500 meters.
Fire hydrants are one of the key factors to increase the effectiveness and timeliness of fire control. The International Disaster Prevention Standard establishes the goal to reach the scene of incident within 8 minutes.
However, the nature of urban areas has changed dramatically due to the expansion of residential area, commercial sources, and buildings. The number of the existing fire hydrants is not consistent with and does not cover the density of population and buildings, especially in the inner Bangkok, middle and residential areas in outer Bangkok.
Therefore, the BMA will
1. Increase the number of fire hydrants, especially in central Bangkok, outer Bangkok, and small alleys in dense communities, and inner areas without any fire hydrants. With this campaign, the number of fire hydrants will be consistent with the urban development rate, population density, and building density in various districts, and fire hydrant coverage will fulfill the requirement standards of the Disaster Prevention and Mitigation Office and international standards. Eventually, the hydrants will be ready to extinguish water in emergency incidents.
2. Check the status and condition of fire hydrants to make sure that they are always ready for use by considering applying technology, such as a sensor to monitor the status and condition of fire hydrants at various areas.
*Last update: 16 March 2022