นโยบาย chevron_right

ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะไกล ลดเวลาในการเดินทางและความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ 

  - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย

  - คลินิกบริการและการรักษาโรคตอบโจทย์ความต้องการ ตรงกับวิถีชีวิตของประชาชน

 

รายละเอียด

ปัจจุบัน กทม.มีศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หลัก 69 แห่ง ซึ่งเป็นการบริการการแพทย์ปฐมภูมิ (primary care) สำหรับประชาชน จากสถิติปี 2563 มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 1.72 ล้านครั้ง (แบ่งเป็นในเวลาราชการ 1.35 ล้านครั้ง และนอกเวลาราชการประมาณ 370,000 ครั้ง) 

ศบส.หลายแห่งยังมีปัญหาในหลายมิติแตกต่างกันไปในแต่ละศูนย์ เช่น โครงสร้างพื้นฐานและอาคารทรุดโทรม ความแออัดของการใช้งาน ปริมาณบุคลากรที่ไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วย ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรักษาที่จำกัด

เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการรักษาปฐมภูมิ กทม.จะพัฒนาคุณภาพ ศบส. ดังนี้ 

  1. ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารเดิมให้ทันสมัย เพียงพอกับผู้ใช้งาน 

  2. จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น

  3. เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เฉพาะทางให้เพียงพอ เช่น ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาล นักกายภาพบำบัด ที่ปรึกษาทางจิตวิทยา ด้วยการจ้างประจำในกรอบอัตรากำลังและลูกจ้างชั่วคราวหรือ outsourcing

  4. เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนคลินิกการให้บริการ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองและกลุ่มโรคในปัจจุบัน เช่น คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกจิตวิทยาปรึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย คลินิกสุภาพสตรีที่ครอบคลุมบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  5. ขยายบริการของคลินิกนอกเวลาราชการ ตามแบบการประเมินและความต้องการของประชาชนในพื้นที่

  6. ปรับปรุงสวัสดิการ ค่าล่วงเวลา ตลอดจนค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาระงานในส่วนเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล ข้าราชการ ตลอดจนการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวหรือโครงการตามอัตรากำลังที่ขาดแคลน 

  7. เพิ่มบริการให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เกี่ยวกับคนพิการ เช่น รถเข็น (Wheel Chair) เครื่องช่วยเดิน ถังออกซิเจน ฯลฯ

 

*อัพเดตล่าสุดวันที่ 19 เมษายน 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Improving Public Health Centers, and Increasing Treatment, Time, and Resources


What will Bangkok residents get? 

  - Reducing travel costs and time and reducing crowding in large medical institutions.

  - Increasing access to nearby quality medical institutions in their neighborhoods.

  - Clinics and medical services that meet people's needs.

 

Details

Nowadays, 69 main public health centers in Bangkok provide primary care. Based on the statistics for the year 2020, there were 1.72 million service sessions in total (1.35 million sessions in office hours and about 370,000 sessions outside office hours). 

Many public health centers experience different problems, such as deteriorating buildings and infrastructures, crowdedness, and insufficient personnel resulting in a limited capacity.

 

To improve the primary care quality, the BMA will improve the quality of the public health centers as follows.

  1. To build and renovate the existing buildings to sufficiently support patients. 

  2. To provide necessary medical tools, equipment, and materials.

  3. To increase the number of medical personnel and specialists, such as dentists, nurses, physiotherapists, and psychologists, through employment, temporary contracts, or outsourcing.

  4. To increase or adapt clinics in line with the current urban lifestyles and illnesses, such as physiotherapy clinics, counseling clinics, daycare centers, and women's health clinics (providing breast cancer and cervical cancer screening services).

  5. To increase clinics' services outside office hours, per the evaluation and the needs of people in the areas.

  6. To improve the benefits, over-time payment, and compensation for medical officers, nurses, and civil servants; and recruit temporary workers as needed.