- การจราจรในจุดก่อสร้างรถไฟฟ้าคล่องตัว
- ประชาชนทราบแผนการปิดการจราจรอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจและบริหารการเดินทางได้
- ทางเท้าและทางข้ามบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสามารถสัญจรได้อย่างปกติ
กทม.และหน่วยงานรัฐอีกหลายภาคส่วนกำลังดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การก่อสร้าง 2 ทางลอด ที่แยกรัชดาฯ - ราชพฤกษ์ และแยกไฟฉาย ซึ่งทั้งสองทางลอดเป็นโครงการของ กทม.ที่กำลังดำเนินการอยู่แต่ล่าช้ากว่ากำหนด ทั้งที่โครงการควรจะแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2564 และยังสร้างปัญหาการจราจร ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการจัดการพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ปลอดภัยและการจัดการทางเท้าทางข้ามที่เสียหาย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการก่อสร้าง เช่น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาล ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายมักแจ้งผ่านเฟซบุ๊กเพจโครงการว่าวันใดจะดำเนินการเรื่องใด ดำเนินการตรงส่วนไหน ปิดจราจรช่องไหน และมีการติดตั้งป้ายบอกริมทาง อย่างไรก็ตามพบว่าในความเป็นจริงจะมีการขยายการปิดการเบี่ยงจราจรเพิ่มเติมจากที่ประกาศ การไม่เปิดการจราจรคืนตามเวลาที่แจ้ง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน
ดังนั้น กทม.จะบริหารจัดการพื้นก่อสร้างเพื่อให้การจราจรคล่องตัวที่สุด โดย
1. ทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจจราจร รฟม. และผู้รับเหมาอย่างใกล้ชิด
2. เข้มงวดเอาจริงเอาจังในการจัดการจราจร จัดรูปแบบปิดเส้นทางการจราจรใหม่ให้การจราจรมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
3. เปิดสัญญาก่อสร้างและหนังสือขออนุญาตดำเนินการด้านสาธารณูปโภคในเขตทางสาธารณะของโครงการที่ดำเนินการอยู่ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามสัญญา ทั้งการจัดการจราจร จัดการความปลอดภัย การป้องกันการก่อมลพิษ มาตรฐานการคืนผิวจราจรและพื้นที่สาธารณะ ฯลฯ เพื่อให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
4. เปิดแผนการปิดเบี่ยงจราจร และแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า โดยจัดแจ้งในหลากหลายรูปแบบและหลายหลากช่องทาง เพื่อการรับรู้เป็นวงกว้าง เข้าถึงทุกกลุ่มคน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลมากพอในการตัดสินใจเดินทาง รวมทั้งจัดการจราจรบริเวณที่ก่อสร้างให้มีกระแสจราจรคล่องตัวที่สุด
5. อำนวยความสะดวก จัดการพื้นที่ก่อสร้าง และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนด้วยเทศกิจจราจร
6. เร่งคืนพื้นที่ถนนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน
7. เร่งคืนทางเท้าให้ประชาชนเดิน และดูแลทางเท้า ทางข้าม และให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่กระทบต่อการสัญจรของประชาชน
8. เข้มงวดกับสภาพผิวทางที่รับคืนจากผู้รับเหมา จะต้องดีดังเดิม
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 3 พฤษภาคม 2565
พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน
- Better traffic flow around electric rail construction sites
- Complete information on traffic closure plans for people’s journey decision and management
- Normal use of sidewalks and crosswalks in the construction areas
The BMA and many government agencies are working on infrastructure construction, such as the construction of two underpasses at the Ratchada-Ratchaphruek and Fai Chai intersections. Both are BMA’s projects of Bangkok that are in progress but have been delayed. They should have been completed in 2021 and are now causing traffic problems with accidents from unsafe management of construction sites and damaged sidewalks and crosswalks.
The construction of Bangkok electric systems is usually announced on Facebook page with daily details of construction areas and closed traffic lanes. Roadside signs are also posted in the nearby areas. However, it has been found that more traffic lanes are closed more than those in the announcements and traffic lanes are not reopened at the specified time: these affects people’s journeys.
BMA plans to manage their construction site to ensure the smoothest traffic flow possible by:
1. Closely cooperate with Traffic Police Headquarter, Mass Rapid Authority of Thailand (MRTA) as well as construction contractors;
2. Strictly managing the road traffic and reorganizing its closure pattern for better traffic flow;
3. Study all under-construction electric rail systems’ contracts and letters requesting public utility operation in public transit areas and supervise their operations accordingly, including traffic management, safety management, pollution prevention and standards for reopening traffic lanes and public space, etc., in order to minimize its impact on people.
4. Study traffic closure plans, inform the public in advance via more channels for wider and more inclusive reach, providing people with sufficient information for journey decisions as well as effectively manage the construction area traffic for better traffic flow.
5. Assigning traffic municipal officers to facilitate and manage the construction sites and increase public safety;
6. Expediting the return of road surface for road users; and
7. Expediting the return of sidewalks for pedestrians and maintaining sidewalks and crosswalks in good condition accommodating people’s journeys.