- คนไร้บ้านเข้ารับการบริการภายในศูนย์ฯ และพักอาศัยชั่วคราวเป็นหลักแหล่ง ลดผลกระทบต่อสังคมในพื้นที่สาธารณะ ตลอดจนเกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในตัวผู้ไร้บ้าน
วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางที่เป็นคนจนเมือง ที่ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน นอกจากนี้มิติทางด้านสังคมและครอบครัวก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจเป็นคนไร้บ้าน ปัจจุบันพบว่ามีคนไร้บ้านประมาณ 1,500-2,000 คน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.เคยเปิดดำเนินการบ้านอุ่นใจ ศูนย์พักพิงที่พักชั่วคราว เป็นที่พึ่งของคนไร้บ้าน แต่ด้วยข้อจำกัดและการดำเนินงานที่ไม่ต่อเนื่องจึงมีการหยุดดำเนินการไป
กทม.จะเปิดดำเนินการบ้านอุ่นใจอีกครั้งในบริเวณกรุงเทพฯ ชั้นใน โดยการดำเนินการจะมีลักษณะการบริการที่ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นในรูปแบบการให้บริการเป็นรายการตามความสมัครใจ เช่น บริการห้องน้ำและห้องอาบน้ำ บริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษา การสนับสนุนมื้ออาหาร การพักค้างคืนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนการส่งต่อ ส่งกลับภูมิลำเนา หรือการช่วยหางานสร้างรายได้
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 24 มีนาคม 2565
- Homeless people receive services in the shelters and stay in one place temporarily. The homeless shelters will reduce social impact in public area and create safety for homeless individuals.
The severe economic crisis caused by the COVID-19 epidemic has affected the vulnerable groups, the urban poor, who are mostly daily workers. In addition, social and family dimensions are another factor influencing the decision to become homeless. At present, there are approximately 1,500-2,000 homeless people in the Bangkok area. BMA used to operate Baan Aun Jai as temporary shelters for the homeless. However, due to limitations and discontinued operations, the homeless shelters were closed.
BMA will reopen Baan Aun Jai in inner Bangkok, such as Phra Nakhon District or around the old town. The operations will be more flexible. More precisely, services will be voluntary, such as toilets and bathrooms, health examinations and consultations, meals, safe overnight stay, transfer, transportation back to hometown, and seeking jobs and income.